การสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ยังไงให้ปังด้วยการใช้ WordPress
การสร้างเว็บไซต์ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ และเป็นเครื่องมือทางการชนิดหนึ่ง ที่ช่วยในเรื่องของการทำธุรกิจผ่านโลกออนไลน์ เพื่อให้คุณประสบความสำเร็จ แต่การที่จะสร้างเว็บไซต์ ขายของผ่านทางออนไลน์ นั้นก็จะมีหลายขั้นตอนมากมายที่จะต้องทำการศึกษาเยอะพอสมควร แต่ก็ยังมีเครื่องมือในการช่วยสร้างเว็บไซต์ของคุณให้ออกมาดี และ ตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดีเยี่ยม และ นั้นก็คือ WordPress นั่นเองค่ะ
และวันนี้นิชาก็ได้ทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้คุณมีเป้าหมายตามที่คุณต้องการให้กับเว็บไซต์ของคุณ เพื่อให้เว็บไซต์คุณนั้นติดอัดอันดับหน้าแรกบน Google นั้นเองค่ะ หรือ ที่หลาย ๆ คนรู้จักเลยนั่นก็คือ SEO ซึ่งเราขอบอกเลยค่ะว่าแค่ทำให้เว็บไซต์ออกมาสวยงามเรื่องนี้อาจจะไม่พอ แต่เว็บไซต์ของคุณจะต้องมีคุณภาพที่ดีด้วยนั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเร็วในการโหลด พร้อมกับเนื้อหาที่น่าสนใจ และ น่าติดตาม รวมถึงการเข้าใช้งานได้แบบสะดวก สบายสำหรับผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ เป็นต้น
และวันนี้นิชาก็ได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่เป็นความรู้เบื้องต้นมาบอกให้กับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ได้ทำความเข้าใจ และเรียนรู้ในเรื่องของการสร้างเว็บไซต์ในการขายของออนไลน์ ผ่านช่องทาง WordPress ให้มีคุณภาพ ซึ่งมี 10 ขั้นตอนดังนี้ค่ะ
รายละเอียดเนื้อหา
ต้องรู้ค่าใช้จ่ายสำหรับการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress
สำหรับต้นทุนที่จะต้องมีซึ่งนั้นก็คือ เงิน และ เวลา สำหรับการสร้างเว็บไซต์เพื่อให้มีคุณภาพ ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้ ค่าจดโดเมน จะอยู่ที่ประมาณ 400 – 1,000 บาท ซึ่งก็แล้วแต่ราคา เพราะมันจะมีความแตกต่างกันในการเลือกใช้งาน อาทิเช่น นามสกุล .in.th , com และ net จะอยู่ในราคาประมาณ 400 – 500 บาท , ค่าเช่า Hosting จะอยู่ที่ราคา 1,500 – 3,000 บาท , ค่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ถ้าหากต้องใช้ WordPress ในการทำจะไม่มีค่าใช้จ่าย , ค่าธีม ก็จะอยู่ที่ราว ๆ ประมาณ 2,000 – 2,500 บาท , นามสกุล .co.th ราคาประมาณ 1,000 บาท , ค่าจ้างทำกราฟิคจะตกอยู่ที่ราคา 15,000 – 20,000 บาท ซึ่งส่วนนี้ก็จะเป็นการประเมิณค่าใช้จ่ายแบบคร่าว ๆ ที่ควรรู้เอาไว้เบื้องต้น
เครื่องมือสำหรับการสร้างเว็บไซต์นั้นจะต้องมีอะไรบ้าง ?
เครื่องมือสำหรับ เป็นตัวโปรแกรมที่เป็นสำเร็จรูปที่มีขึ้นมาเพื่อการสร้าง และ ทำการจัดการในเรื่องของเนื้อหาในโลกอินเตอร์เน็ต หรือ จะอธิบายแบบง่าย ๆ เลยนั่นก็คือ แทนที่คุณจะต้องมาทำการดาวน์โหลด โปรแกรมมาทำการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ ทำการเขียนโค้ด แต่ CMS นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้แบบโดยตรง ซึ่งนั้นก็แปลว่า เมื่อจะเข้าใช้งานโปรแกรมนี้
คุณก็สามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เข้าใช้งานผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพียงแค่ล็อกอินเข้าสู่ระบบจัดการของ CMS เท่านั้น เพราะทาง WordPress นั้นจะเหมาะสมกับการสร้างเว็บไซต์โดยตรง แทบทุกประเภท เพียงแค่คุณทำการเลือกธีม ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ และ ตามที่คุณต้องการ นอกจาก WordPress แล้วนั้นก็จะมีอีก 3 ตัวที่เป็นเครื่องมือ เพื่อมาทำงานร่วมกับ WordPress ซึ่งนั้นก็จะเรียกว่า Plugin ที่จะช่วยในเรื่องของการสร้างเว็บไซต์ สำหรับการขายของออนไลน์ และเครื่องมือที่ว่านี้ก็จะมี Theme , Plugin และ Woocommerce เป็นต้น
วิธีการจด Domain
Domain คือ เป็นการตั้งชื่อเว็บไซต์ขึ้นมา เพื่อให้คุณจดจำงาน เพราะเนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นมันจดจำได้ยาก และเมื่อเจ้าของเว็บไซต์ทำการเปลี่ยนแปลง ไอพีแอดเดรสผู้ที่เข้าใช้งานนั้นก็ไม่จำเป็นต้องรู้ หรือ จดจำไอพีแอดเดรสใหม่ แต่ยังคงต้องใช้โดเมนเนมเดิมไปต่อนั้นเองค่ะ
หลักการตั้งชื่อโดเมน หรือ ชื่อเว็บไซต์ ซึ่งจะมีดังนี้
- ควรตั้งชื่อโดเมนให้สั้น แบบกระชับใจความ เพื่อให้จดจำได้ง่าย
- ควรตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เท่านั้น !!
- ตั้งชื่อให้คล้องจองกับสิ่งที่ธุรกิจคุณทำ
- ห้ามตั้งชื่อโดเมนที่สะกด หรือ พิมพ์ยากจนเกินไป
- ไม่ควรมีเครื่องหมายขีดอย่างเด็ดขาด
- เลือกใช้นามสกุล .com เสมอ เพราะคนส่วนใหญ่นั้นมักจะคุ้นเคยกับคำ ๆ นี้ หรือ คุณจะใช้นามสกุลอื่นก็ได้เช่นกัน แต่ห้ามใช้นามสกุลที่มันดูแปลกจนเกินไป
- วิธีการเลือก Hosting
Web Hosting คือ รูปแบบในการให้บริการสำหรับผู้ที่เข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างหนึ่ง หรือจะอธิบายได้แบบง่าย ๆ เลยนั้นก็คือ พื้นที่ ที่ช่วยในการจัดเก็บรูปภาพ ไฟล์ และ ข้อมูลต่าง ๆ ฟล์ต่างๆของคุณนั้น ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทำให้ประสิทธิภาพของเว็บไซต์คุณนั้นจะดีหรือไม่ Hosting ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเข้ามาใช้บริการ โฮลติ้งนั้นสิ่งที่จะต้องรู้เลยนั่นก็คือ Hosting ที่ทาง WordPress แนะนำนั้นมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้นเองค่ะ
การตั้งค่า namesaver และทำ https
จะต้องเช็คค่า Nameserver ทุกโฮสติ้งจะมีเลขที่ ถ้าหากคุณอยากให้โดเมนของคุณที่จดขึ้นมานั้นแสดงที่โฮลไหน คุณก็ต้องไปตั้งค่าที่ Nameserver ก่อนค่ะ ซึ่งวิธีการเช็ค Nameserver และการตั้งค่าในส่วนของ Nameserver ก็จะมีดังนี้
- เข้าระบบหลังบ้านของ Hostatom และหลังจากนั้นให้คุณเลือกเมนู บริการของฉัน
- ดูตรงที่เป็นสีเขียวๆ และทำการคลิกเข้าไปที่ สินค้า/บริการที่ใช้งานอยู่
- จะเห็นชื่อของ Nameserver ของ โฮล ที่คุณใช้งานอยู่ให้คุณทำการ copy ชื่อ Nameserver เก็บไว้ก่อน เพื่อเตรียมจะเอาไปใส่ที่โดเมน
- เลือกเมนู โดเมนของฉัน
- เปิดใช้งาน Let’s Encrypt เพื่อทำเว็บให้เป็น HTTPS
HTTPS คือ การเข้ารหัสข้อมูลบนเว็บไซต์ของคุณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของความปลอดภัย คุณสามารถสังเกตเห็นว่าเว็บไหนที่มีการเข้ารหัสเอาไว้ มันจะมีการแสดงรูปแม่กุญแจไว้ที่บน Browser นั้นเองค่ะ ซึ่งก็จะมีวิธีการดังนี้
- ให้คุณกลับไปที่หน้า Home ของ DirectAdmin
- เลือกเมนู Advanced Features และคลิกเข้าไปเลือก SSL Certificates
- ติ๊กเลือกเมนู Use the server’s shared signed certificate.
- และเลือก Free & automatic certificate from Let’s Encrypt
- ให้คุณระบุข้อมูลส่วนตัว เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสินแล้วค่ะ
และให้คุณทำการเลือกที่คุณใช้ nameservers ที่มีการกำหนดเอง โดยการเอาชื่อ nameservers ของโฮสคุณ ไปวางไว้ และทำการคลิกเปลี่ยน เรา วางลงไปครับ คลิกเปลี่ยน nameservers ให้เรียบร้อย
วิธีติดตั้ง WordPress บน Hosting
การติดตั้ง WordPress และ Hosting นั้นก็จะมีเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักการก็จะมีรูปแบบคล้าย ๆ กันโดยส่วนใหญ่ แต่ในส่วนขั้นตอนติดตั้ง WordPress บน Hosting นั้นมีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
- เข้าสู่ระบบหลังบ้านของโฮส
- ทำการเลือกเมนู บริการของฉัน
- คลิก เข้าสู่ Direct Admin ที่หน้า Home ของ Direct Admin โดยจะมีส่วนที่เป็นตัวช่วยในการติดตั้ง CMS ต่างๆ ให้คุณเข้าไปคลิกที่สัญลักษณ์ของ WordPress
- คลิก install now เพื่อเป็นการเริ่มต้นการเข้าสู่หน้าที่คุณจะติดตั้ง WordPress
- ให้ใส้ข้อมูลในการเริ่มต้นในการติดตั้ง WordPress บนโดเมนที่ต้องการ และ หลังจากนั้นก็ให้คุณคลิกเข้าไปที่ install
- หลักการเลือก Theme รวมถึงการออกแบบเว็บไซต์ด้วยระดับ ด้วยพรีเมี่ยมธีม
Plugin WordPress ที่เหมาะกับการขายของออนไลน์ ซึ่งจะเป็นตัว Woocommerce นี้เองละค่ะ เพราะธีมที่ควรเลือกซึ่งก็จะมีหลักการที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ควรใช้ธีมที่พรีเมี่ยม หรือ ธีมที่มีการชำระเงิน เพราะว่าการใช้ธีมฟรีนั้นจะมีข้อจำกัดที่เยอะมาก ๆ และ ไม่มีความยืดหยุนใด ๆ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ที่คุณสามารถเลือกปรับแต่งได้ตามใจลำบาก แต่หากเลือกใช้ธีมที่เสียเงิน ในเรื่องของการเข้าใช้งาน จะสามารถยืดหยุ่น ซึ่งคุณสามารถเข้าเลือกปรับได้ทุกอย่างได้แบบอิสระให้ตรงกับความต้องการที่มากกว่า พร้อมทั้งมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา และควรมีการอัพเดทให้ทันกับการเข้าใช้งานของ WordPress ในรูปแบบล่าสุดอย่างสม่ำเสมอ อัพเดทตาม Woo เวอร์ชั่นล่าสุด (ver.3+) ที่มียอดขายอยู่พอสมควร และควรเลือกธีมที่มียอดขายดี เพราะว่าธีมไหนที่ไม่ค่อยมียอดขายเลย ผู้ที่สร้างธีมขึ้นมาก็จะหนุดพัฒนาธีมนั้น ๆ หรืออัพเดทธีมที่ใช้ในการรองรับ Woocommerce และ WordPress ในเวอร์ชั่นใหม่ ๆ หากมีการเลือกใช้ธีมนั้น ๆ ต่อไปละก็ ก็อาจจะมีความเสี่ยงสูงว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นจะไม่สามารถเข้าใช้งานได้เมื่อมีการอัพเดทนั้นเองค่ะ
ซึ่งการออกแบบเว็บไซต์ด้วยธีมที่เป็นระดับ พรีเมี่ยมธีม เราขอแนะนำว่าเป็น Flatsome นะคะ เพราะจะเป็นธีมที่มีระบบฟังชั่นสมบูรณ์แบบซึ่งจะเหมาะสำหรับการทำเว็บไซต์ ขายของออนไลน์ หรือ ร้านค้าออนไลน์ ธีม Flatsome ซึ่งจะมีเครื่องมือที่จำเป็นในการสร้างเว็บที่แตกต่างกันออกไป หลากหลายไอเดีย สามารถเข้าใช้งานง่าย และเป็นธีมที่ขนาดเล็ก เพื่อชวนให้เว็บไซต์นั้นเปิดได้เร็วยิ่งขึ้นนั้นเองค่ะ
วิธีการสร้าง ระบบตะกร้าสินค้า “Woocommerce”
Woocommerce จะเป็นตัว ปลั๊กอิน ช่วยในเรื่องของการสร้างระบบร้านค้าออนไลน์ ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งผู้ที่ใช้งานสามารถโหลดตัว ปลั๊กอินนี้มาใช้ฟรี ๆ โดยไม่มีค่ะรรมเนียมใด ๆ เพราะในปัจจุบันนี้สถิติเว็บร้านค้าออนไลน์ทั่วโลก 47% นั้นก็คือเว็บที่มีการสร้างมาจาก Woocommerce โดยใน Woocommerce จะมีรูปแบบฟีเจอร์สนับสนุนการทำงานในเรื่องของการสินค้าออนไลน์อย่างครบรูปแบบ ซึ่งจะได้แก่
- การตั้งค่าแบบพื้นฐาน และ การติดตั้ง
- การลงขายสินค้าประเภทต่าง ๆ
- การสร้างฟอร์มแจ้งชำระเงิน
- การตั้งค่าในเรื่อของการจัดส่ง
- การจัดการ order สินค้าต่าง ๆ
- รวมไปถึงการจัดการเรื่องการสต็อกสินค้า
- วิธีการดูแลเว็บไซต์ให้มีความปลอดภัย
- ต้องมีการอัพเดท WordPress , Plugin และ Theme อย่างสม่ำเสมอ
- ห้ามตั้ง Password และ Username ง่ายจนเกินไป
- ติดตั้งปลั๊กอินในการรักษาความปลอดภัยเท่าที่จำเป็น
- เลือกโฮสที่มีความน่าเชื่อถือ
- Backup ข้อมูล
- การวัดผลด้วย Google Analytics
สำหรับเครื่องมือที่ช่วยในการวัดผลต่าง ๆ ก็จะมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ เลยนั้นก็คือ Google Search Console กับ Google Analytics ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ ก็จะมีลักษณะที่มีการวัดผลที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ที่เข้าใช้งานร่วมด้วยค่ะ
- Google Analytics จะเป็นเครื่องมือฟรีของ Google ที่จะเป็นตัวช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้มีการเก็บข้อมูลผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับนั้นไปวิเคราะห์แก้ไข และ นำไปปรับปรุงในส่วนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด หรือ การซื้อโฆษณา รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ และการหาสิ่งที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้ความสนใจ ในเรื่องของสินค้า และ การให้บริการ รวมถึงเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณ
- Google Search Console จะเป็นการให้บริการฟรีของทาง Google ที่ช่วยในเรื่องของการดูสถิติคนเข้าเว็บ ที่มีการค้นหาบน Google แบบธรรมชาติ เท่านั้น จะไม่รับรวมกับ Traffic จาก Ads หรือมาจากช่องทาง Social Media นั้นเองค่ะ
เป็นยังไงบ้างคะ กับการสร้างเว็บไซต์ร้านค้าขายของออนไลน์ด้วยตนเอง ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าจะเป็นมือใหม่ก็ตามที่ต้องการอยากจะเป็นนักธุรกิจ หรือ จะเป็นแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ ที่อยากจะขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น หากขั้นตอนไหนที่คุณมีความสงสัยคุณก็สามารถศึกษาค้นหาข้อมูลเองได้ทันที เพราะถือว่าที่กล่าวไปทั้งหมด 10 นั้นก็จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื่องต้นค่ะ นอกจากความรู้พื้นฐานที่ได้กล่าวไปทั้งหมดนั้น การนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงก็เป็นสิ่งที่สำคัญเอามาก ๆ เลยนะคะ หากต้องการให้เว็บไซต์ของคุณตอบโจทย์ความต้องการในการทำธุรกิจ ก็ต้องมีการลองถูก ลองผิดกันต่อไป เพราะไม่มีหลักการไหนที่จะตรงกับความต้องการได้แบบ 100% อย่างแน่นอนค่ะ
บทความที่น่าสนใจ: การทำ SEO ให้ติดหน้าแรกของ Google ด้วยฝีมือตนเอง ฉบับย่อ 2021